บทที่2

บทที่ 2 การสื่อสารทางการตลาดแบบประสมประสานและวางแผนการสื่อสารทางการตลาด


การสื่อสารให้เกิดประสิทธิผล ควรจะวางแผนเป็น โครงการรณรงค์ทางการตลาด (Campaign) ซึ่งเป็นการใช้เครื่องมือทางการตลาดทุกอย่างร่วมกัน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการสื่อสาร แนวความคิดนี้ เรียกว่าการสื่อสารทางการตลาดแบบผสมผสาน (Integrated Marketing Communication - IMC) หมายความว่า
                การผสม หมายถึง การนำเครื่องมือทางการตลาด เช่น ผลิตภัณฑ์ ช่องทางจัดจำหน่าย การโฆษณา การใช้พนักงานขาย การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย การจัดกิจกรรม มาใช้ในการสื่อสารโครงการรณรงค์ทางการตลาด เช่น Relaunch Campaign ตัวผลิตภัณฑ์ ฉลาก กล่อง ขนาดบรรจุ อาจต้องปรับเปลี่ยน พร้อมทั้งเพิ่มช่องทางจัดจำหน่าย มีการโฆษณา การใช้พนักงานขาย การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย การจัดกิจกรรม โปสเตอร์ ใบปลิว Brochure การสนับสนุนกิจกรรม (Sponsorship) การจัดตั้งชมรม (Club) การจัดรายการเยี่ยมชมโรงงาน (Plant Tour / Company visit) การออกงานแสดงสินค้า (Trade shows) การสร้างเว๊บ (Web Site) การสร้างช่องทางจัดจำหน่าย การส่งเสริมสังคม เครื่องเขียน แบบพิมพ์ต่างๆ ตลอดจนการใช้ช่องทางและสื่อต่างๆ ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม ซึ่งไม่ได้หมายความว่า จะต้องใช้สื่อทุกอย่างที่มี
แบรนด์ที่ชอบใช้รายการส่งเสริมการขายแรงๆ เท่านั้น จะพบว่าเมื่อทำให้ ลูกค้า “ติด” รายการส่งเสริมการขายแล้ว เมื่อไรก็ตามที่ไม่มีรายการส่งเสริมการขาย ก็จะขายไม่ได้ หรือขายได้น้อยกว่าปกติมาก ก็เป็นเพราะแบรนด์ไม่ได้สร้างคุณค่า และไม่ได้ทำให้ลูกค้ารักใน “คุณค่า” ที่ทุ่มเททั้งเวลา ความพยายาม รวมถึงงบประมาณในการวิจัย และ พัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เช่น ห้างแว่นตายี่ห้อหนึ่ง ไม่ทราบว่ามีบริษัทในเครือขาย ปากกา / นาฬิกา / กระเป๋า ได้มากกว่า แว่นตาหรือไม่ จึงหยุดแถมไม่ได้
การผสาน หมายถึง การนำกิจกรรม ช่องทางการสื่อสารที่ใช้ผสมกันนั้น มาจัดกระบวนการให้มีความสอดคล้อง ต่อเนื่อง สนับสนุนซึ่งกันและกัน (Interactive) ทำให้เกิดประสิทธิผล และประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 

การแบ่งประเภทของตลาดในทางเศรษฐศาสตร์ จ าแนกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ
 1.ตลาดแข่งขันสมบูรณ์(perfect competitive market)
 2.ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ (imperfect competitive market)

ลักษณะตลาดแข่งขันสมบูรณ์
1. มีจ านวนผู้ซื้อ ผู้ขายในตลาดจ านวนมาก
2. สินค้าที่ขายในตลาดมีลักษณะเหมือนกันทุกประการจึงทำให้ไม่มีผู้ซื้อและผู้ขายรายใดสามารถกำหนดราคาของสินค้าในตลาดได้ ดังนั้นผู้ซื้อ ผู้ขายใน ตลาดแข่งขันสมบูรณ์จึงต้องยอมรับราคาที่ตลาดกำหนดหรือเรียกว่าเป็น price taker
3. ผู้ผลิตหรือผู้ขายสามารถเข้าออกจากตลาดได้อย่างเสริมโดยมีกำไรเป็นแรงจูงใจ
4. มีการเคลื่อนย้ายทรัพยากรการผลิตสินค้าและบริการได้อย่างเสรี
5. ผู้ซื้อและผู้ขายมีความรู้ และรับทราบข้อมูลข่าวสารโดยเฉพาะเรื่องราคาได้เป็นอย่างดี


ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ (Imperfectly Competitive Market)
             หมายถึงตลาดที่ผู้ซื้อหรือผู้ขายมีอิทธิพลในการกำหนดราคาหรือปริมาณซื้อขายสินค้ากันบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งขึ้นอยู่กับความไม่สมบูรณ์ของ ตลาดจะมีมากน้อยเพียงใด ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ ก.ตลาดผูกขาดสมบูรณ์ (Pure Monopoly) ข.ตลาดผู้ขายน้อยราย (Oligopoly) ค.ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด

การวางแผนการสื่อสารการตลาด (Marketing Communication Planning)
   1. แผนงานการโฆษณา (Advertising Plan)
   2. แผนงานการประชาสัมพันธ์ (Public Relations Plan)
   3. แผนงานการขายโดยใช้บุคคล (Personal Selling Plan)
   4. แผนงานการส่งเสริมการขาย (Sale Promotion Plan)
   5. แผนงานการตลาดทางตรง (Direct Marketing Plan)
6.แผนงานการจัดเหตุการณ์พิเศษ (Event Marketing Plan)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น