บทที่ 9

บทที่ 9  กฎหมายและจรรยาบรรณที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาด/การขาย
 ความหมายของกฎหมายและจรรยาบรรณ
       ความหมายของกฎหมาย    
          กฎหมายนั้นมีความหมายอยู่หลายประการ ซึ่งความหมายจะแปรเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น ลักษณะของสังคมที่แตกต่างกัน สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ความต้องการของประชาชนในสังคม นั้น ๆ แต่หลักที่สำคัญและเป็นความหมายของกฎหมายโดยทั่วไปจะมีอยู่ 4 ประการ คือ   
             1. กฎหมายต้องเป็นคำสั่ง    2. กฎหมายถูกกำหนดขึ้นโดยผู้มีอำนาจในสังคม
             3. กฎหมายใช้บังคับและเป็นที่ทราบแก่คนทั่วไป  4. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับแก่ผู้ฝ่าฝืน
             จรรยาบรรณ หมายถึง มาตรฐานของความประพฤติ และการใช้ดุลพินิจทางศีลธรรมที่ว่าด้วยการกระทำของบุคคล บริษัท องค์กร ว่าถูกหรือผิด สมควรหรือไม่สมควร
             จรรยาบรรณ หมายถึง การศึกษาและวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการตัดสินใจภายในกรอบของมาตรฐานทางศีลธรรม หรือการศึกษาว่ามีพฤติกรรมอะไรบ้างที่ ถูก หรือ ดี สมควรหรือไม่สมควร

  การประกอบอาชีพทุกอาชีพ ต้องมีจรรยาบรรณ และจรรยาบรรณมีความสำคัญในการดำเนินงานนั้น ๆ ดังนี้
      1. ส่งเสริมให้ผู้ประกอบอาชีพแต่ละประเภท ประพฤติปฏิบัติตนถูกต้องเหมาะสม ตามที่แต่ละอาชีพได้วางหลักไว้ให้เป็นจรรยาบรรณ ถ้าหากกระทำผิดย่อมมีความผิด
      2. ช่วยควบคุม และส่งเสริม ให้ผู้ประกอบการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีความสำนึกในหน้าที่ และมีความรับผิดชอบต่องานที่ตนทำ
      3. ส่งเสริมและช่วยควบคุมการผลิต และการปฏิบัติงานให้มีปริมาณ และคุณภาพที่เชื่อถือได้มีบริการที่ดี  และปลอดภัย
      4. ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีความซื่อสัตย์ มีความยุติธรรม ไม่ทุจริตต่อหน้าที่ สามัคคีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
      5. ส่งเสริมให้ประกอบอาชีพประเภทต่างๆ มีความสำนึกว่าการประกอบอาชีพที่ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เอาเปรียบ   ผู้บริโภค ตรงไปตรงมา เป็นกุศล สังคมยกย่อง
      6. จรรยาบรรณช่วยพิทักษ์สิทธิ์ และหน้าที่ของผู้ประกอบอาชีพนั้นๆ ตามกฎหมาย
             
          เมื่อเราทราบถึงความสำคัญจรรยาบรรณวิชาชีพแล้ว ทำให้เราสามารถปรับตัวเราเอง ให้อยู่ในกรอบของความถูกต้องในการดำเนินวิชาชีพนั้นๆ ขณะเดียวกัน จะต้องเรียนรู้ถึงความแตกต่าง ระหว่างจรรยาบรรณวิชาชีพ และกฎหมายควบคุมวิชาชีพ ซึ่งมีรายละเอียด คือ 
          - จรรยาบรรณวิชาชีพ เกิดจากความต้องการของกลุ่ม ผู้ที่อยู่ภายในวงวิชาชีพนั้นเอง ที่ร่วมกันสร้างจรรยาบรรณ สำหรับวิชาชีพของตนขึ้นมาควบคุมกันเอง มิใช่ข้อบังคับจากรัฐเหมือนกฎหมาย
            - จรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นอุดมคติที่สูงกว่าข้อบังคับของกฎหมาย กฎหมายเป็นเพียงข้อบังคับที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม แต่จรรยาบรรณวิชาชีพเป็นเพียงกฎระเบียบ อุดมคติของแต่ละวิชาชีพย่อมสูงกว่าข้อบังคับของกฎหมาย โดยทั่วไปกฎหมายเป็นข้อบังคับ ไม่ให้คนฝ่าฝืนที่จะทำผิดเพื่อเอาเปรียบ และทำลายความสงบสุขของสังคม ห้ามทำร้ายกัน ถ้าใครฝ่าฝืนก็ถือว่าผิดกฎหมาย ไม่มีการบังคับว่าต้องช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น   แต่จรรยาบรรณ  หรือ  อุดมคติกำหนดไว้ให้ช่วยเหลือผู้อื่นด้วย
            - จรรยาบรรณวิชาชีพเกิดจากความสมัครใจ ของผู้อยู่ในวิชาชีพนั้น โดยผู้อยู่ในวิชาชีพเดียวกัน สร้างจรรยาบรรณสำหรับวิชาชีพของตนเองขึ้นด้วยความสมัครใจ เพื่อควบคุมกันเอง ผู้ใดไม่เห็นด้วยและไม่สมัครใจ จะปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพก็สามารถกระทำได้ โดยไม่ทำงานวิชาชีพนั้น หยุดปฏิบัติวิชาชีพนั้น ต่างกับกฎหมายตรงที่บังคับว่าทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมาย อยู่ภายใต้กฎหมายแม้ว่าไม่สมัครใจ ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายนั้นๆ ก็ตาม

กฎหมายธุรกิจการขายตรง
              ธุรกิจขายตรง หมายถึง การทำตลาดสินค้าหรือบริการในลักษณะของการนำเสนอขายต่อผู้บริโภคโดยตรง ณ ที่อยู่อาศัยหรือสถานที่ทำงานของผู้บริโภคหรือของผู้อื่น หรือสถานที่อื่นที่มิใช่สถานที่ประกอบการค้าเป็นปกติธุระ โดยผ่านตัวแทนขายตรงหรือผู้จำหน่ายอิสระชั้นเดียวหรือหลายชั้น แต่ไม่รวมถึงนิติกรรมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
                   ธุรกิจขายตรงเป็นการกระจายสินค้า หรือ บริการไปสู่ผู้บริโภคด้วยตัวบุคคล  หรือ ผู้แทนขายนำเสนอรวบรัดแสดงสรรพคุณเกินความเป็นจริง  ทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน ไม่ชัดเจน  กฎหมายจึงมีความคุ้มครองไว้ 2 ฝ่าย คือ ผู้ขายถูกเอาเปรียบจากเจ้าของสินค้า  และ  ผู้ซื้อถูกเอาเปรียบจากผู้ขาย
ธุรกิจขายตรงแบบชั้นเดียว
คือการที่มีตัวแทนจำหน่ายแค่คนเดียว ทำการเดินขายสินค้าตามสถานที่ต่างๆ ไม่เหมือนหลายชั้นที่เราแนะนำมาสมัครต่อเราและเป็นเครือข่ายของเรา อ่านเพิ่มเติมได้ใน ธุรกิจขายตรงแบบหลายชั้น
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียไทยได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้
ธุรกิจขายตรงแบบหลายชั้น (Multi- Level Marketing หรือ MLM) หรือ ธุรกิจเครือข่าย (Network Marketing) เป็นการตลาดต่อๆกันเป็นเครือข่ายหลายชั้น ผู้ขายเป็นนักขายอิสระ ไม่ใช่ลูกจ้างของบริษัท เรียกว่าเป็น นักธุรกิจอิสระ นักธุรกิจเครือข่าย สมาชิก หรือ ทีมเมมเบอร์ มีหลายแบบขึ้นอยู่กับแผนการตลาดได้แก่ แบบไบนารี่ แบบยูนิเลเวล แบบไตรเซ็บ แบบเมตริกซ์ และแบบผสม โดยนักธุรกิจเครือข่าย สามารถสร้างรายได้จากการทำงาน 3 วิธีรวมกัน คือ
1.   รายได้เริ่มต้น ผลกำไรจากการขายปลีก ซึ่งเป็นผลต่างระหว่างต้นทุนสินค้าที่ซื้อมาจากบริษัทกับราคาขายปลีกที่ได้ขายสินค้าหรือบริการให้กับผู้บริโภค
2.    รายได้สร้างทีม คอมมิชชั่นหรือส่วนลดตามระดับยอดขายของสินค้าหรือบริการที่มีการสั่งซื้อ (เพื่อบริโภคหรือเพื่อขายให้กับผู้ขายคนอื่นต่อๆไป) จากผู้ขายที่ได้ชักชวนเข้ามาสมัครร่วมธุรกิจในทีมขาย หรือที่เรียกว่า "สปอนเซอร์" ในระดับเป็นชั้นต่อๆไป
3.   รายได้ผู้นำ คอมมิสชัน หรือส่วนลด ผู้นำ เช่นเปอร์เซนต์จากยอดขายกลุ่ม รางวัลเงินสดจ่ายครั้งเดียว กองทุนต่าง ๆ เช่นกองทุนท่องเที่ยว หรือกองทุนรถยนต์ เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า หลักการของระบบการตลาดหลายชั้นคือ การที่นักธุรกิจเครือข่ายได้รับผลตอบแทนทั้งจาก รายได้เริ่มต้นที่ตนเองขายปลีก และผลตอบแทนจากการขายซึ่งเกิดขึ้นเมื่อนักขายในกลุ่มของตนชวนมาร่วมกันขาย จนมียอดขายรวมเป็นก้อนใหญ่ จากปัจจัยดังกล่าวทำให้เกิดโอกาสในการสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องและไม่มีขีดจำกัด ซึ่งเกิดจากการสปอนเซอร์หรือชักชวนผู้อื่นมาเข้าร่วมธุรกิจอันทำให้ระบบการตลาดหลายชั้นเป็นระบบที่มีศักยภาพสูงสุดในธุรกิจขายตรงปัจจุบัน
  กฎหมายการโฆษณาของธุรกิจในประเทศไทย
                   
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา เป็ นมาตรการหนึ่งของ “การคุ้มครองผู้บริโภค” ตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที ่2) .. 2541 ในอันที่จะให้การคุ้มครองแก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับการได้รับข้อมูลข่าวสาร รวมทั้ง คำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้อง และเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ดังนั้น การโฆษณาเพื่อจำหน่าย สินค้าหรือให้บริการต่างๆ จึงต้องมีการใช้ถ้อยคำ หรือข้อความที่ไม่มีลักษณะไม่เป็นจริงหรือเป็นเท็จ , เข้าใจผิดในสาระสำคัญของสินค้าหรือบริการ , อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมเป็นการส่วนรวม , ก่อให้เกิดการสนับสนุนไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อมที่ทำให้มีการกระทำความผิดกฎหมายหรือศีลธรรม อันดี หรือนำไปสู่ความเสื่อมเสียในวัฒนธรรมของชาติ , ก่อให้เกิดความแตกแยก หรือความสามัคคี ในหมู่ประชาชน และอย่างอื่นที่กฎหมายกำหนด ไม่ว่าจะเกิดจาการที่ผู้โฆษณาจะใช้วิธีการ หรือ การดำเนินการไม่ว่าจะเป็นการอ้างอิงรายงานผลการศึกษาวิจัยทางวิชาการ สถิติ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอัน ไม่เป็นความจริงหรือเกินความจริงหรือไม่ก็ตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.. 2522 ได้กำหนดให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการว่าด้วย การโฆษณาขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ในการควบคุมดูแลการโฆษณาสินค้าหรือบริการ และมีอำนาจในการ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้ นเพื่อดำเนินการพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที ่ คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณามอบหมายก็ได้
   
จรรยาบรรณของนักธุรกิจ

         จรรยาบรรณ (Ethics)  ไม่ใช่กฎหมายแต่เป็นข้อที่ควรปฏิบัติสำหรับอาชีพใดอาชีพหนึ่งเช่นแพทย์  ไม่ควรเปิดเผยความลับของคนไข้  เพราะผิดจรรยาแพทย์  เป็นต้น  สำหรับการประกอบธุรกิจ  ก็เช่นกัน  ผู้ประกอบธุรกิจควรที่จะแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมที่เขาอาศัยอยู่  เช่น
1. การให้สิ่งที่ดีต่อสังคม  การผลิตสิ่งของที่ดีมีคุณภาพให้กับสังคม  การไม่ปลอมปนสินค้า  ความพร้อมที่จะรับผิดชอบต่อผลที่เกิดจากการใช้สินค้าที่ผลิตออกไป  การเลือกใช้วัตถุดิบที่ไม่มีอันตรายในการผลิตสินค้า
2. ปฏิบัติตามกฎหมาย  เช่น กฎหมายแรงงาน  ลดการเอารัดเอาเปรียบคนงาน  ควรจ่ายค่าจ้างการทำงานและสวัสดิการในด้านการบริโภค  การปฏิบัติตามกฎหมาย  ว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเคร่งครัด
3. สร้างงานที่มีการจ้างแรงงานสูง   เช่น งานก่อสร้าง   งานการเกษตร  งานให้บริการต่าง ๆ งานเหล่านี้ในแง่ธุรกิจอาจให้ผลตอบแทนไม่สูงนัก  แต่เป็นการช่วยสังคมไม่ให้มีการว่างงาน
4. การกำหนดราคาสินค้า  ไม่ควรกำหนดสูงไปเพื่อหวังกำไร  แต่ควรพิจารณาถึงความเหมาะสม  การไม่ฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าในขณะที่เกิดเภทภัยต่าง ๆ
5. ป้องกันสภาพแวดล้อมเป็นพิษ  เป็นปัญหาที่สำคัญมากที่สุด  ในทางธุรกิจอุตสาหกรรมก็คือสิ่งแวดล้อมเป็นพิษหรือเกิดมลภาวะอากาศเป็นพิษ  น้ำเสีย  ของเสียที่ทับถมบนพื้นดิน
สภาพแวดล้อมที่ดี   ผู้ประกอบธุรกิจต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ โดยจัดระบบการจำกัดและป้องกันให้เหมาะสม
6. ให้ความสนับสนุนการศึกษา  ธุรกิจจะต้องให้การช่วยเหลือและสนับสนุนการศึกษาทั้งสถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชน  อาจทำได้โดยการให้ทุนการศึกษา  กู้ยืมเงิน  การฝึกงานดูงานของนักศึกษา  เชิญผู้เชี่ยวชาญไปบรรยายให้นักศึกษาฟัง
7. ให้บริการด้านสุขภาพอนามัยและนันทนาการ  ควรช่วยเหลือกิจการต่าง ๆ  และให้บริการด้านต่าง ๆ ของสังคม เช่น  ลูกเสือชาวบ้าน  การกุศล  กิจกรรมต่าง ๆ
ความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งต้องปฏิบัติดังกล่าวข้างต้นแล้ว  ผู้ประกอบการทางธุรกิจ  จะต้องมีคุณธรรม  มีความยุติธรรม  ผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ  ซื่อสัตย์สุจริต  ไม่เอารัดเอาเปรียบสังคมอันเป็นส่วนรวมอีกด้วย

  จรรยาบรรณของนักโฆษณาหรือผู้ส่งเสริมการตลาด
           ในการประกอบธุรกิจการค้าไม่ว่าจะเป็นสายอาชีพใด สิ่งหนึ่งที่ทุกสายงานจำเป็นต้องมีและจะขาดเสียมิได้ เพื่อให้ธุจกิจนั้นการดำเนินไปอย่างถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของสังคม และได้รับความเชื่อถือไว้วางใจจากลูกค้า สิ่งนั้นก็คือ จรรยาบรรณ
            บริษัทตัวแทนโฆษณาเป็นธุรกิจที่ต้องติดต่อและเกี่ยวข้องกับหน่วยงานต่างๆ มากมาย อีกทั้งยังเป็นองค์กรที่สร้างสรรค์สื่อซึ่งออกเผยแพร่ต่อสาธารณะชนในจำนวนมหาศาล จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีจรรยาบรรณของนักโฆษณา เพื่อเป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้ยึดมั่นในการปฏิบัติ มิให้งานโฆษณาที่สร้างสรรค์ออกมานั้น ส่งผลกระทบหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น ทั้งในด้านจิตใจ ซึ่งสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย (The advertising association of Thailand) ได้บัญญัติไว้เป็น จรรยาแห่งวิชาชีพโฆษณา ดังนี้
               การสร้างสรรค์โฆษณา นักโฆษณาผู้มีหน้าที่ในการคัดเลือกสารโฆษณาเพื่อเผยแพร่ต่อผู้บริโภคควร สร้างสรรค์โฆษณาเพื่อให้เกิดผลกระทบทางบวกต่อสังคม และยึดหลักจรรยาบรรณของโฆษณา ดังต่อไปนี้
                 1.ประกอบวิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริตตามหลักปฏิบัติและวิชาการ และอยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมาย
                 2.ไม่กระทำการใดๆอันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกรียติศักดิ์แห่งวิชาชีพ 
                 3.มีความรับผิดชอบต่อสังคม ยึดถือในจริยธรรมและวัฒนธรรมอันดีงาม
                 4.ไม่ควรกระทำโฆษณาอันเป็นการดูหมิ่นศาสนา หรือความเชื่อ หรือสิ่งอันเป็นที่เคารพสักการะของบุคคล
                 5.ไม่ควรกระทำโฆษณาอันทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญที่เกี่ยวกับสินค้า บริการ การแสดงหรืออื่นๆ หรือโอ้อวดสรรพคุณจนเกินความจริงทำให้ผู้เห็นหรือ ผู้ฟังเกิดความสำคัญผิด
                 6.ไม่ควรกระทำโฆษณาโดยการโจมติหรือเปรียบเทียบสินค้า บริการ การแสดงหรืออื่นๆ ของผู้อื่นอย่างไม่ยุติธรรม โดยใช้วิธีเปรียบเทียบใดๆอันทำให้ผู้เห็นหรือผู้ฟังเกิดความสำคัญผิด
                 7.ไม่ควรกระทำการโฆษณาโดยใช้เสียงที่เป็นการก่อกวนความรู้สึกให้กับผู้ฟัง
                 8.ไม่ควรกระทำการโฆษณาโดยทำให้เกิดความกลัวโดยไม่มีเหตุอันสมควร
                 9.ไม่กระทำการโฆษณาโดยใช้ความเชื่อถือเกี่ยวกับไสยศาสตร์ หรือเรื่องโชคลางมาเป็นข้อจูงใจ
                10.ไม่ควรกระทำการโฆษณาโดยการเลียนแบบเครื่องหมายการค้า คำขวัญ หรือข้อความสำคัญจากการโฆษณาของผู้อื่นอันทำให้ผู้เห็นหรือผู้ได้ยินเกิดความเข้าใจผิด หรือไขว้เขวเกี่ยวกับสินค้าบริการหรือการแสดงของผู้อื่น                    
                 11.ไม่ควรกระทำการโฆษณาอันเป็นการสนับสนุนหรือก่อให้เกิดการกระทำอันผิดกฎหมายหรือศีลธรรม     
                 12.ไม่ควรกระทำการโฆษณาโดยใช้ศัพท์สถิติ ผลการวิจัย หรือ อ้างอิงรายงานทางวิทยาศาสตร์ในทางที่ไม่สมควร หรือทำให้เกิดความเข้าใจผิด โดยที่สินค้านั้นไม่มีคุณสมบัติที่อ้าง    
                 13.ไม่ควรกระทำการโฆษณาอันก่อให้เกิดความเหยียดหยามกันเกี่ยวกับกาซื้อชาติหรือศาสนา                     
                 14.ไม่ควรกระทำการโฆษณาโดยอ้างอิงตัวบุคคล หรือสถาบัน โดยที่ตัวบุคคลหรือสถาบันไม่มีตัวตนอยู่จริง และ ไม่ได้ใช้สินค้า บริการ หรือชมการแสดงนั้นจริง       
                 15.ไม่ควรกระทำโฆษณาอันอาจมีผลเป็นอันตรายต่อเด็ก หรือเยาว์ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ หรือทำให้ขาดความรู้สึกผิดชอบ หรือโดยอาศัยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของบุคคลดังกล่าวมาใช้เป็นเครื่องมือใน การจูงใจโดยไม่สมควร    
                 16.การโฆษณาโดยการอ้างอิงบุคคลในวิชาชีพอื่นที่มีการควบคุมตามพระราชบัญญัติต่างๆ ต้องเป็นไปตามมรรยาทแห่งวิชาชีพนั้น
               
กฏหมายคุ้มครองผู้บริโภค
           กฏหมายคุ้มครองผู้บริโภคเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตของคนในสังคม โดยทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับการบริโภคสินค้าและการใช้บริการ เช่น มนุษย์ต้องบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม ต้องใช้บริการรถประจำทาง รถไฟฟ้า รวมทั้งบริการอื่น ๆเพื่ออำนวยความสะดวก เช่น การใช้บัตรเครดิต โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ดังนั้นการบริโภคหรือการใช้บริการต่าง ๆจะต้องได้มาตรฐานและมีคุณภาพครบถ้วนตามที่ผู้ผลิตได้โฆษณาแนะนำไว้ ด้วยเหตุนี้ รัฐในฐานะผู้คุ้มครองดูแลประชาชน หากพบว่าประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากการบริโภคสินค้าและบริการจะต้องรีบ เข้าไปแก้ไขเยียวยาและชดเชยความเสียหายให้กับประชาชน

หน่วยงานที่คุ้มครองผู้บริโภคมีอยู่หลากหลายและกระจายตามประเภทของการบริโภคสินค้าและบริการ
     1. กรณีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับอาหาร ยา หรือเครื่องสำอาง เป็นหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณาสุข ที่ต้องเข้ามาดูแล
     2. กรณีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมก็เป็นหน้าที่ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ที่ต้องเข้ามาดูแล
     3. กรณัที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับเจ้าของธุรกิจจัดสรรที่ดิน อาคารชุด เป็นหน้าที่ของกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทยเข้ามาดูแล
     4. กรณีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับคุณภาพหรือราคาสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นหน้าที่ของกรมการค้าภายใน กระทรวงพานิชย์ ที่ต้องเข้ามาดูแล
     5. กรณีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับการประกันภัยหรือประกันชีวิต เป็นหน้าที่ของกรมการประกันภัย กระทรวงพานิชย์ ที่ต้องเข้ามาดูแล

           สำหรับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 จัดเป็นกฎหมายเฉพาะที่ที่ไม่ซับซ้อนหรือขัดกับอำนาจหน้าที่ของหนาวยงานที่คุ้ทครองผู้บริโภคในด้านต่างๆ ตามตัวอย่างข้างต้น เพระาหากเกิดกรณีจำเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบมิได้ดำเนินการแก้ไขหรือดำเนินการไม่ครบถ้วนตามขั้นตอนของกฎหมาย ผู้เดือดร้อนสามารถร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อให้สั่งการแก้ไขแทนได้ เพราะสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นหน่วนงานคุ้มครองด้านการบริโภคสินค้าและบริการทั่วไป นอกเหนือจากการทำงานของหน่วยงานอื่น ๆ

กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ได้บัญญัติสิทธิของผู้บรริโภคได้ 5 ประการคือ
     1) สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าและบริการ เพื่อการพิจารณาเลือกซื้อสินค้่หรือรับบริการอย่างถูกต้อง ทำให้ไม่หลงผิดในคุณภาพสินค้าและบริการ
     2) สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกสินค้าและบริการดดยปราศจากการชักจูงก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า
     3) สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการสินค้าที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีที่ใช้ตามคำแนะนำของผู้ผลิต
     4) สิทธิที่จะได้รับการพิพจารณาและชดเชยความเสียหาย อันหมายถึง สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครอง และ
     5) ชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อมีการละเมิดสิทธิผู้บริโภค


         นอกจากนี้ ผู้บริโภคจะต้องปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริโภค โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย ในที่นี้จะขอหล่าวถึงหน้าที่ของผู้บริโภคที่ควรปฏิบัติ คือ
     1) ผู้บริโภคต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการซื้อสินค้าหรือรับบรริการ เช่น ตรวจสอบฉลากแสดงราคาและปริมาณ ไม่หลงเชื่อในคำโฆษณาคุณภาพสินค้า
     2) การเข้าทำสัญญาผูกมัดการตามกฎหมาย โดยการลงมือชื่อ ต้องตรวจสอบความชัดเจนของภาษาที่ใช้ตามสัญญาให้เข้าใจรัดกุม หรือควรปรึกษาผู้รู้ทางกฏหมายหากไม่เข้าใจ
     3) ข้อตกลงต่าง ๆ ที่ต้องการให้มีผลบังคับใช้ ควรทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้ประกอบธุรกิจด้วย
     4) ผู้บริโภคมีหน้าที่เก็บหลักฐานไว้ เพื่อประโยชน์ในการเรียกร้องค่าเสียหาย
     5) เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ผู้บริโภคควรดำเนินการเรียกร้องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือต่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บรืโภค


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น